ลือสะพัด “อลงกรณ์ จะย้ายพรรคไปเพื่อไทย หลังพบชัชชาติ” เจ้าตัวแจงสร้างมิติใหม่ “การเมืองไร้รอยต่อ”

นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรัฐมนตรี และอดีต ส.ส. 6 สมัย พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ในเฟสบุ๊คส่วนตัว กรณีมีคำถาม เรื่องการย้ายพรรคไปเพื่อไทย หลังจากมีข่าวไปพบหารือ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย นายอลงกรณ์ เขียนชี้แจงเรื่องนี้เกี่ยวกับ การเมืองที่ไร้รอยต่อ ไว้อย่างน่าสนใจดังต่อไปนี้

การเมืองที่ไร้รอยต่อ

Seamless politics

กรณีมีข่าว อลงกรณ์-ชัชชาติ ผนึกความร่วมมือ กทม.-จีน ด้านพลังงานสะอาดและยานยนต์ไฟฟ้า โดยฝ่ายหนึ่งนำโดย นายอลงกรณ์ พลบุตร (พรรคประชาธิปัตย์) กับอีกฝ่ายหนึ่งนำโดย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พรรคเพื่อไทย)

ทำให้เพื่อน ๆ และสื่อมวลชนหลายคนสอบถามด้วยความกังขาว่าคุยกันรู้เรื่องหรือ???

บางคนตีความไปว่าผมจะย้ายพรรคไปเพื่อไทยใช่ไหม???

ผมถามกลับไปว่า ทำไมถึงคิดเช่นนั้น ก่อนจะถามต่อไปว่า เข้าใจคำว่า การเมืองที่ไร้รอยต่อ (seamless politics)ไหม???

ย้อนถามแบบนี้ก็งงกันสิครับ

ผมอธิบายสั้น ๆ ว่า การเมืองที่ไร้รอยต่อ หมายถึงวัฒนธรรมทางการเมืองที่พรรคการเมืองหรือนักการเมืองที่อยู่คนละพรรคทำงานร่วมมือกันได้ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม โดยก้าวความความแตกต่างทางการเมืองหรือการแข่งขันทางการเมือง

ผมเชื่อว่าท่านผู้ว่าชัชชาติ ก็มีแนวความคิดความเชื่อเช่นเดียวกับผมในเรื่องการเมืองที่ไร้รอยต่อ ท่านให้เกียรติและแสดงออกอย่างกระตือรือร้นในระหว่างการประชุมหารือ และแสวงหาความร่วมมือที่เป็นไปได้ในทุกมิติ โดยปราศจากร่องรอยการแบ่งพรรค แบ่งฝ่าย

ยิ่งกว่านั้นเรายังได้พูดถึงความร่วมมือในการยกระดับการศึกษาด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น เยเนอเรทีฟ เอไอ (Generative AI-ปัญญาประดิษฐ์) ในระบบ AI Classroom และความร่วมมือในโครงการกรุงเทพสีเขียว 2030 (Green Bangkok 2030) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและคุณภาพของเมืองหลวงของประเทศ เป็นต้น

ความร่วมมือระหว่างท่านผู้ว่าชัชชาติ และผม คือหนึ่งในตัวอย่างของการเมืองที่ไร้รอยต่อ

แต่ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างความกันขาให้กับเพื่อนๆ และสื่อมวลชน

ผมเข้าใจดีว่า การเมืองบ้านเรา เคยชินกับวัฒนธรรมทางการเมืองที่มุ่งต่อสู้แข่งขันแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายหมายเอาชนะคะคานกัน ทั้งก่อนและหลังเลือกตั้ง

แต่สำหรับผมคิดว่า เหรียญมีสองด้านเสมอ ด้านหนึ่งคือการแข่งขันอีกด้านหนึ่งคือความร่วมมือ

การเมืองจึงไม่ได้มีแค่เรื่องการแข่งขันหรือการต่อสู้ทางการเมืองเท่านั้น แต่การเมืองสามารถร่วมมือกันได้ในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ

และนี่คือวิถีของการเมืองสร้างสรรค์ที่ผมยึดถือเชื่อมั่นมาโดยตลอดและอยากเห็นวัฒนธรรมทางการเมืองไทยแบบนี้เป็นรากฐานใหม่ของการเมืองไทย

สรุป คือ ไม่มีการย้ายพรรคครับ

“Seamless politics” is a concept that refers to a political environment or system where different political parties or entities work together smoothly and effectively without experiencing significant disagreements, conflicts, or disruptions. In a seamless politics scenario, there is a high level of cooperation, collaboration, and communication among different stakeholders in the political arena. This leads to more efficient governance, better decision-making processes, and potentially improved outcomes for society as a whole.

Related posts