คุมประพฤติ กทม.6 จัดประชุมเชิงปฎิบัติการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังลดโทษ

วันนี้ (15 ส.ค.67) ที่สำนักงานเขตพระนคร กรุงเทพฯ น.ส.เสาวลักษณ์ ปลั่งเกียรติยศ ผอ.สนง.คุมปนะพฤติ กทม.6 จัดการประชุมเชิงปฎิบัติการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังลดโทษ โดยมีผู้แทนจากศาลแขวงดุสิต, ผู้แทนจากสำนักอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 3, ผู้แทนจากสำนักงานเขตดุสิต, เขตบางซื่อ, เขตพญาไท, เขตราชเทวี, เขตพระนคร, ผู้แทนศูนย์บริการสาธารณสุข 2, 6, 11, 19, 38, ผู้แทนจากสถานีตำรวจนครบาลดุสิต, สามเสน, พญาไท, สำราญราษฎร์, ชนะสงคราม, พระราชวัง, บางซี่อ, ผู้แทนจากศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เขตดุสิต และอาสาสมัครคุมประพฤติ กทม.6 ร่วมประชุม โดยมี นายธีระชัย รักษาราษฎร์ ผอ.สำนักงานคุมประพฤติ 8 ให้เกียรติเป็นวิทยากร

น.ส.เสาวลักษณ์ ได้กล่าวว่า “ด้วยพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ.2565 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 ม.ค.67 ที่ผ่านมา กรมคุมประพฤติถือเป็นหน่วยงานหลักในการ ขับเคลื่อนภารกิจด้วนการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ โดยสำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 6 ต้องดำเนินการเฝ้าระวังผู้ถูกเฝ้าระวังภายหลังพันโทษตามคำสั่งศาล ซึ่งปัจจุบันมีคดีเฝ้าระวังผู้ถูกเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษเข้าสู่สำนักงานแล้ว 7 ราย และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นเพื่อให้ผู้ถูกเฝ้าระวัง ตามคำสั่งศาลปฏิบัติตามคำสั่งศาลได้อย่างครบถ้วนไม่หวนกลับไปกระทำความผิดซ้ำในรูปแบบเดิมหรือมีความ รุ่นแรงมากยิ่งขึ้น และมีการดำเนินการเฝ้าระวังผู้ถูกเฝ้าระวังตามคำสั่งศาลได้อย่างเหมาะสมและเป็นรูปธรรม มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนารากฐานความร่วมมือในระดับพื้นที่โดยมีการส่งเสริมให้สร้างเครือข่าย ความร่วมมือในระดับพื้นที่ให้มีความแข็งแกร่ง เพื่อที่จะเป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือติดตาม แก้ไขร่วมกัน ส่งเสริมการบูรณาการความร่วมมือในการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทางสำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 6 จึงเห็นควรจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้าง เครือข่ายความร่วมมือในการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังทันโทษ เพื่อเป็นการบูรณาการความร่วมมือ ในการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพันโทษกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่รับผิดขอบ”

 

น.ส.เสาวลักษณ์ ยังกล่าวอีกว่า “การประชุมในครั้งนี้เพื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จะได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเจตนารมณ์และสาระสำคัญของพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ.2565 จะได้มีเครือข่ายความร่วมมือในการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษเพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด”

 

Related posts