เจาะเทรนด์เทคโนโลยีแพทย์ทางไกลไทย แอปหมอดีชี้ AI อุปกรณ์สวมใส่และ IoT ช่วยติดตาม ดูแล รักษาคนไข้ได้รวดเร็วและแม่นยำ มุ่งลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึง การดูแลสุขภาพของคนไทย
ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเวทีประชันไอเดียปั้นนวัตกรรุ่นใหม่ “ทรูแล็บแฮกกาธอน TrueLabHackathon” ชูไฮไลท์นำเทคดูแลสุขภาพคนไทยถ้วนหน้า ผนึกแอปหมอดี-ผู้นำเทเลเมดิซีนแอป ชวนนิสิต นักศึกษา และคนรุ่นใหม่อายุไม่เกิน 30 ปี ประชันแผนธุรกิจและไอเดียฟีเจอร์ใหม่ ตอบโจทย์พฤติกรรมและความต้องการของคนไข้ในอนาคต มุ่งให้คนไทยเข้าถึงการดูแลสุขภาพด้วยเทเลเมดิซีน แอปพลิเคชัน พร้อมจัดงานเปิดบ้านแบ่งปันองค์ความรู้และประเดิมเปิดรับสมัครในงาน หมอดี Hackathon Open House เมื่อ 5 ส.ค. ที่ผ่านมา สำหรับทีมที่ผ่านเข้ารอบจะได้รับเงินรางวัล และสิทธิประโยชน์มากมาย พร้อมโอกาสต่อยอดธุรกิจกับกลุ่มทรูดิจิทัลเฮลท์ ก้าวสู่เส้นทางผู้ประกอบการรุ่นใหม่ สนใจสมัครได้แล้ววันนี้ ถึง 17 ส.ค. 2566 ประกาศผลคัดเลือกแผนงานธุรกิจที่เข้ารอบ 20 ทีม วันที่ 20 ส.ค. 2566 และปฐมนิเทศทีมที่เข้ารอบ ในวันที่ 26 ส.ค. 2566 งาน Hackathon ในวันที่ 2-3 ก.ย. 2566 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook True Lab
เทเลเมดิซีน S-Curve ที่ผลักดันประเทศไทย 4.0
ดร.ยศวีร์ นิรันดร์วิชย กรรมการผู้จัดการ ดิจิทัล เฮลท์ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ผู้ให้บริการแพทย์ทางไกลภายใต้ชื่อแอปพลิเคชัน “หมอดี” กล่าวถึง บริการทางการแพทย์โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่รวมถึงการแพทย์ทางไกล กำลังเข้าสู่อุตสาหกรรม S-Curve ที่ผลักดันให้ประเทศไทย ก้าวสู่ยุค 4.0 โดยแนวโน้มเทเลเมดิซีนของไทยยังมีโอกาสเติบโตสูงขึ้นอีกมาก โดยปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งาน (Adoption rate) ยังมีสัดส่วนน้อยกว่า อเมริกา อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ เนื่องจากคนไทยยังมีปัญหาเรื่อง การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล และการเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงวัยที่เป็นกลุ่มหลักของการใช้บริการแพทย์ทางไกล
แอปหมอดี มีเป้าหมายสูงสุดคือ การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการดูแลสุขภาพของคนไทย โดยมีภารกิจ 3 ด้าน คือ 1. Accessibility ให้คนไทยเข้าถึงการดูแลสุขภาพได้สะดวกทั่วถึงทุกพื้นที่ 2. Affordability ราคาที่ย่อมเยา และ 3. มาตรฐานการรักษาระดับเดียวกับโรงพยาบาลเอกชน เป็นลักษณะ end to end มีขั้นตอนการรักษาตั้งแต่ต้นจนจบ สร้างระบบนิเวศน์การดูแลสุขภาพเป็นโรงพยาบาล On Cloud โดยแอปหมอดีปัจจุบันมีแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพมากกว่า 500 ท่าน ครอบคลุมกว่า 20 สาขาเฉพาะทาง ซึ่งเทเลเมดิซีนนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะคนไข้ในพื้นที่ต่างจังหวัดที่การเข้าถึงแพทย์อาจยากลำบาก จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งสามารถรอรับยาได้ที่บ้าน และหากลูกค้ามีประกันสุขภาพกับบริษัทพันธมิตรหมอดี ก็สามารถเคลมค่าใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย นอกจากนี้หมอดียังร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้บริการผู้ใช้สิทธิบัตรทองในกรุงเทพฯ และ 5 จังหวัดปริมณฑลอีกด้วย
เทรนด์ดิจิทัล อุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ของไทย
นายแพทย์กวิน วงศ์ธรรมริน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำ หมอดีแอป กล่าวถึง แนวโน้มด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขในอนาคตหลังจากนี้ จะก้าวสู่บริการที่ทุกคนเข้าถึงได้ ผ่านการใช้เทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยนั้น เราได้เห็นพัฒนาการเกิดขึ้นหลายรูปแบบ เช่น การนำเทคโนโลยีระบบ Video Conference มาใช้เพื่อรองรับการสื่อสารรักษาทางไกลแบบเทเลเมดิซีน , การพัฒนา Mobile Application เพื่อให้ติดตาม แจ้งเตือน และจองคิวเพื่อบริหารจัดการการฉีดวัคซีน , การนำอุปกรณ์ Wearable Device และ IoT มาใช้ในการติดตาม ดูแล และรักษาผู้ป่วย และการนำ AI มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย ช่วยประกอบการตัดสินใจในการดำเนินการรักษาได้รวดเร็วและแม่นยำ
สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงการพัฒนาและปรับตัวส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้น ซึ่งส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวงการสาธารณสุขเป็นวงกว้าง ในการเปิดรับนำเทคโนโลยีมาใช้ และก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆ ที่เคยมีในการทำงาน และแน่นอนว่าแนวทางเหล่านี้จะยังคงอยู่กับวงการการแพทย์และสาธารณสุขต่อเนื่องไปอีกหลังจากนี้ ดังนั้นการลงทุนด้านระบบเทคโนโลยีทางการแพทย์นี้ก็จะยังคงเกิดขึ้นต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบ แอปพลิเคชันทางการแพทย์ใหม่ๆ โครงการด้าน AI สำหรับการรักษา การพัฒนาระบบ เทเลเมดิซีน ให้ต่อยอดมากขึ้นและสอดคล้องกับกระบวนการการรักษามากยิ่งขึ้น
แนวทางการพัฒนาแอปหมอดี และเทเลเมดิซีนในอนาคต
สิ่งที่น่าสนใจคือการพัฒนา Digital Device ต่างๆ เช่น Smart watch ที่สามารถเก็บข้อมูลสุขภาพ เช่นการเต้นของหัวใจ หรือข้อมูลสุขภาพได้อย่างเรียลไทม์ และทำอย่างไรให้ข้อมูลเหล่านี้เชื่อมโยงกับข้อมูลในระบบของแอป ก่อนที่คนไข้จะมาพบแพทย์ แล้วยังรวมไปถึงเรื่องของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แบนด์วิชท์ ที่จะช่วยให้การเชื่อมต่อเครื่องมือแพทย์และการเชื่อมโยงข้อมูลลื่นไหลสะดวกขึ้น ที่สำคัญคือการพัฒนาตัวซอฟท์แวร์ หรือ AI มาเป็นผู้ช่วยแพทย์ในการจัดการข้อมูล Digital Health Data ต่างๆ ทั้งการ Input Data การประมวลวิเคราะห์ ได้ Output ผลวินิจฉัยโรค ซึ่งตรงนี้ยังมีช่องว่างให้พัฒนาได้อีกมาก
เทเลเมดิซีน ทำให้เบี้ยประกันสุขภาพลดลง
นายฐนพล กิตติดุลยการ ผู้จัดการด้านการพัฒนาธุรกิจ จากบริษัทเอไอเอ ประเทศไทย กล่าวถึงบทบาทของบริษัทประกันชีวิต ว่า เราเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่สำคัญของ เทเลเมดิซีน ที่ช่วยลูกค้าที่มีประกันดูแลสุขภาพได้ดีขึ้น บริษัทประกันจะช่วยให้คนไทยเข้าถึงประกันสุขภาพได้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันคนไทย 72 ล้านคน เข้าถึงประกันสุขภาพเพียง 1% ในอนาคตบริษัทประกันชีวิตสามารถออกแพ็กเกจประกันเทเลเมดิซีน ได้ในราคาที่สมเหตุผล จากการมีข้อมูลสุขภาพของลูกค้ามากพอที่จะช่วยคำนวณเบี้ยประกันได้แม่นยำได้ยิ่งขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับในปัจจุบันที่เบี้ยสุขภาพมีราคาแพง เพราะเราไม่มีข้อมูลการดูแลสุขภาพของลูกค้ามากพอ
นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกิจการองค์กร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ทรู คอร์ปอเรชั่น มุ่งเป็นผู้นำเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่จะเปลี่ยนผ่านวิถีชีวิตคนไทยและขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวสู่แถวหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเร่งพัฒนาระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีร่วมเติมเต็มชีวิตอัจฉริยะยิ่งขึ้นเพื่อทุกไลฟ์สไตล์ลูกค้า พร้อมสนับสนุนคนเก่งรุ่นใหม่ด้านดิจิทัล โดยล่าสุด เปิดโครงการ “ทรูแล็บแฮกกาธอน TrueLabHackathon” ร่วมกับ แอปหมอดี โดยทรู ดิจิทัล กรุ๊ป เชิญชวนนิสิตนักศึกษาและผู้ที่สนใจด้าน Health Tech ระดมไอเดียเพื่อนำเทคโนโลยีดูแลสุขภาพคนไทย ในหัวข้อ Feature for Future ชวนประชันกลยุทธ์ทางธุรกิจ และสร้างสรรค์ฟีเจอร์เพื่อให้คนไทยเข้าถึงการดูแลสุขภาพได้ทั่วถึงด้วยเทเลเมดิซีน แอป มุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงสาธารณสุขไทยให้คนไทยได้เข้าถึงและใช้เทคโนโลยีในการดูแลสุขภาพ จากการใช้บริการแอปหมอดีให้ได้ประโยชน์และตอบโจทย์ความต้องการด้านสุขภาพให้มากที่สุด”